นาฬิกา
นาฬิกา
นาฬิกาแดด (Sundial)
เมื่อประมาณ 5,000 ปี ที่แล้ว
มนุษย์เริ่มประดิษฐ์นาฬิกาแดด ซึ่งคำนวณจากคณิตศาสตร์ฐานหกสิบของอาณาจักรสุเมเรี่ยน
(Sumerian) ในดินแดนเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) แต่จริง
ๆ แล้วเรายังไม่รู้ว่าใครหรือชนชาติใดเป็นคนแรกที่สร้างนาฬิกาแดดอันแรกของโลก จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า
บรรพชนในดินแดนเมโสโปเตเมีย อียิปส์ กรีกโรมัน และ จีน ล้วนมีนาฬิกาแดดในรูปลักษณ์ต่างๆ
หลายกระแสเชื่อว่าชาวสุเมเรี่ยนซึ่งเป็นต้นฉบับอารยธรรมของโลกน่าจะเป็นชนชาติแรกที่มีความรู้เรื่องนี้
แต่ยังขาดหลักฐานที่เป็นตัวต้นอยู่
นาฬิกาน้ำ (Clepsydra) คำว่า
clepsydra มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep
ซึ่งมีความหมายว่า ขโมย
และคำว่า sydra ที่หมายถึง น้ำ)
ต่อมาชาวกรีกโบราณรู้จักพัฒนานาฬิกาน้ำ
ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านาฬิกาแดด มีหลักการทำงานโดยการใช้ภาชนะดินเผาบรรจุน้ำ
และเมื่อถูกเจาะมาที่ก้น น้ำจะค่อย ๆ ไหลออกทีละเล็ก ทีละน้อย เหมือนกับการขโมยน้ำ
โดยชาวกรีกกำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจากภาชนะจนหมดว่า 1 clepsydra แต่นาฬิกาน้ำจะต้องทำการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา
1 clepsydra (แต่ไม่สามารถใช้ในช่วงฤดูหนาวได้เนื่องจากน้ำจะแข็งตัว)
นาฬิกาในยุคสมัยใหม่
นาฬิกาข้อมือ (Watch)
ในปี ค.ศ. 1809
พระเจ้า นโปเลียนที่ 1 (Emperor
Napolean I) แห่งฝรั่งเศส ต้องการเอาใจมเหสีของพระองค์
จึงบัญชาให้ช่างทำนาฬิกาสร้างนาฬิกาที่สามารถผูกข้อมือได้
แล้วเมื่อทำสำเร็จ
มันก็กลายเป็นวัตถุที่คนทั่วไปให้ความนิยมมากเนื่องจากความสะดวกแก่การพกพา และทำให้มีนาฬิกาแบบคล้องคอ
และแบบอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
ในปี ค.ศ. 1989
ชีกมุนด์ รีเฟอร์ (Siegmund Riefler) ได้ สร้างนาฬิกาลูกตุ้มที่มีความเที่ยงตรงภายในหนึ่งส่วนร้อยของวินาที
ก่อให้เกิดการประดิษฐ์นาฬิกาที่ใช้ลูกตุ้มสองอันตามมาติด ๆ
และต่อมาในปี ค.ศ. 1921
โดยดับเบิลยู.เอช. ช็อตต์ (W. H. Short) นาฬิกานี้ทำงานโดยลูกตุ้มหลักกับลูกตุ้มรอง
มีความคลาดเคลื่อนเทียงเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีต่อวัน
ในปี ค.ศ. 1929 Warren Morrison และ J.W.
Horton ได้ประดิษฐ์นาฬิกาควอตซ์
(Quartz) ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก
โดยอาศัยหลักการสั่นสะเทือน (Vibrations) ของผลึก (Quartz
Crystal) ที่มีค่าคงที่ (ก่อนที่จะมีการค้นพบนาฬิกาควอทซ์นั้น
ได้มีการกำหนดให้ 1 วินาที คือ1/86,400 ของช่วงเวลาเฉลี่ยใน 1
วัน (One mean solar day) ซึ่งเป็นระยะเวลาเฉลี่ย ที่โลกหมุนรอบตัวเอง
ใน 1 วัน)
จากการที่ควอทซ์มีการสั่นสะเทือนมีค่าคงที่
ทำให้มีการนำเอาควอทซ์ มาใช้อ้างอิง ในการรักษาค่าเวลา นาฬิกาควอทซ์ อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่
ทำให้ตัวมันเองสั่นสะเทือน โดยที่แผงวงจรควบคุม จะนำมาใช้อ้างอิง เพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้า
ไปยังขดลวด (Coil)เพื่อทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในขดลวด เหนี่ยวนำให้ชุดกลไก
ในนาฬิกาเกิดการหมุน โดยที่แผงควบคุม จะปล่อยกระแสไฟฟ้า เป็นช่วงเวลาคงที่ เป็นการอาศัยหลักการสั่น
สะเทือน เปลี่ยนมาเป็น การเคลื่อนที่ทางกลอย่างสมบูรณ์ ถึงอย่างไรก็ตาม นาฬิกาควอทซ์ก็ยังมีข้อจำกัด
เนื่องจากอุณหภูมิ จะมีผลต่อค่าคงที่ ของการสั่นสะเทือนได้ แม้ว่าจะไม่มากก็ตาม
นาฬิกาในยุคสมัยปัจจุบัน
ในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้
มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( Chip
) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา
ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย
หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี
นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ที่สามารถดูหนัง ฟังเพลงได้ หรือแม้กระทั้งสามารถโทรศัพท์ได้ด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น