ลักษณะของภาษาไทย

ลักษณะของภาษาไทย

ลักษณะของภาษาไทยได้ ๗ ลักษณะ  ดังนี้

๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด  คือภาษาที่เป็นคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า  พี่  น้อง  ยาย  ป้า  ตา  ต่อมายืมคำจากภาษาต่างประเทศมีคำหลายพยางค์ใ เช่น ดำริ  เสด็จ 

     ลักษณะพิเศษของคำไทยซึ่งไม่มีในภาษาอื่น มีดังนี้

๑. ภาษาไทยมีคำลักษณนามที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เพื่อให้ทราบสัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน

          ๒. ภาษาไทยมีคำซ้ำ คำซ้อน ที่เป็นการสร้างคำเพิ่มเพื่อใช้ในภาษา

           ๓. ภาษาไทยมีคำบอกท่าทีของผู้พูด เช่น นั้น  นี้   หรอ  โน้น  ไป

           ๔. ภาษาไทยมีคำบอกสถานภาพของผู้พูดกับผู้ฟัง เช่น  กระผม  ดิฉัน   ครู   เรา  นาย

๒. ภาษาไทยมีการเรียงคำเป็นประโยคในรูปแบบ ประธาน กริยา กรรม

แต่ก็มีประโยคในภาษาไทยอยู่ไม่น้อยที่เหมือนว่าจะเปลี่ยนลำดับคำได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยนไปจากเดิม

เช่น ดินเปื้อนกระเป๋า                    ข. กระเป๋าเปื้อนดิน

๓. ภาษาไทยมีการใช้ วรรณยุกต์ คือ มี การไล่เสียงวรรณยุกต์ นั้นคือ การผันวรรณยุกต์

การผันวรรณยุกต์ ได้ ๕ เสียง

1.       เสียงสามัญ

2.       เสียงเอก

3.       เสียงโท

4.       เสียงตรี

5.       เสียงจัตวา

๔. ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ เป็นหน่วยภาษา

หน่วยเสียงที่ใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์

         หน่วยเสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ หน่วยเสียง

o   สระเดี่ยว ๑๘ เสียง 

o   สระสั้น ๙ เสียง

o   สระเสียงยาว ๙ เสียง

o   สระประสม ๓ เสียง

        หน่วยเสียงพยัญชนะไทย มี ๔๔ รูป  ๒๑ เสียง

o   พยัญชนะเดี่ยว

o   พยัญชนะควบกล้ำ

        หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มี ๕ เสียง

o   เสียงสามัญ

o   เสียงเอก

o   เสียงโท

o   เสียงตรี

เสียงจัตวา แต่มีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง ๔ รูปเท่านั้น  คือ   ไม้เอก  ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา เครื่องหมายวรรณยุกต์ไม่ได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์นั้น ๆ ตรงตัวเสมอไป เพราะ ต้องเปลี่ยนแปรไปตามกลุ่มของพยัญชนะว่าเป็น อักษรกลาง อักษรสูง หรืออักษรต่ำรวมทั้งคำเป็น คำตาย สระสั้น-สระยาว และกฎการผันวรรณยุกต์

 

๕. ภาษาไทยเป็นการขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

๖. ภาษาไทยมีการลงเสียงหนัก-เบาของ

การลงเสียงหนัก เบาของคำ

    ๑.คำสองพยางค์ จะลงเสียงหนักในพยางค์ที่สอง

    ๒. คำสามพยางค์ มักจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สาม และพยางค์ที่หนึ่ง

    ๓. คำสี่พยางค์ขึ้นไป ลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่น ๆจะลงเสียงหนัก-เบาตามลักษณะส่วนประกอบของพยางค์ที่มีสระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย

 

๗. คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล เราจึงเราสามารถทราบความหมายของคำและความสัมพันธ์กับคำอื่นได้จากบริบท

บริบท หมายถึง ถ้อยคำที่ปรากฏร่วมกับคำที่เรากำลังพิจารณา หรือสถานการณ์แวดล้อมในขณะที่กล่าว หรือเขียนคำ ๆ นั้น

 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม